ถ้าคุณกำลังมองหาเด็คที่มีศักยภาพในการบุกที่เร็วและรุนแรงแล้วละก็ 2 เด็คนี้เป็นทางเลือกที่คุณไม่ควรพลาดนั้นก็คือเด็ค Odd Rogue และ Zoo Warlock!

Odd Rogue

# 2x (1) เลือดเย็น
# 2x (1) ไฟร์ฟลาย
# 2x (1) กะลาสีแห่งทะเลใต้
# 2x (1) ตุ่นยักษ์
# 2x (1) ผู้ติดตามแห่งอาร์เจนท์
# 2x (1) พิษร้าย
# 2x (3) ทาร์ครีปเปอร์
# 1x (3) นกฮูกปากเหล็ก
# 2x (3) บลิงค์ฟ็อกซ์
# 2x (3) ลูกไดโนเสาร์ดุร้าย
# 2x (3) สายลับ SI:7
# 2x (3) อันธพาลเฮนช์แคลน
# 1x (5) โคบอลต์สเกลเบน
# 2x (5) ไวล์สไปน์สเลเยอร์
# 2x (5) ฟังกัลแมนเซอร์
# 1x (5) ลีรอย เจ็นกิ้นส์
# 1x (9) บาคู ผู้เขมือบดวงจันทร์

List : AAECAYO6AgSiAq8EyssCnvgCDYwCywPUBfUF3QiBwgKfwgLrwgLKwwLR4QKL5QKm7wLH+AIA

 

Odd Rogue คือเด็คอะไร?

Odd Rogue คือเด็คที่เน้นบุกและคุมบอร์ดโดยมี Baku เป็นการ์ดหลักที่ขาดไม่ได้ ด้วย Hero Power ที่ยอดเยี่ยมและการ์ดที่มีความดุดันทำให้ Odd Rogue เป็นเด็คที่ถูกหยิบมาเล่นกันอย่างแพร่หลายด้วยลักษณะเด่นของเด็คที่เป็นกึ่งคอมโบ-ทำดาเมจเร็ว

 

วิธีการเก็บการ์ดต้นเกม

VS เด็คที่เร็ว(Aggro-Tempo)

สำหรับการเกบการ์ด เราต้องหามินเนี่ยนในช่วงต้นเกมก่อนไม่ว่าจะเป็น ตุ่นยักษ์ ไฟร์ฟลาย หรือ ผู้ติดตามแห่งอาร์เจนท์ เพื่อครองเกมในช่วงแรกด้วย Hero Power ที่ทรงพลังของเจ้าเด็คOdd Rogue ทำให้ช่วงต้นเกมเราค่อนข้างได้เปรียบอยู่แล้ว

 

อันธพาลเฮนช์แคลน ก็เป็นตัวเลือกไม่ควรพลาดเช่นเดียวกันเพราะโดยปกติแล้วในเทิร์น 2 เรามักจะกดHero Power อยู่แล้วเมื่อเก็บเจ้ามินเนี่ยนตัวนี้เอาไว้ในเทิร์น 3 เราก็จะได้มินเนี่ยน 4/4 มาเล่นซึ่งถ้าฝ่ายตรงข้ามจัดการกับมันไม่ได้ละก็เราจะได้เปรียบอย่างมากเลยทีเดียว

 

VS เด็คช้า(Control)

การ์ดค่าร่ายต่ำๆ และ อันธพาลเฮนช์แคลน ยังคงเป็นตัวเลือกแรกๆอยู่เสมอ สำหรับการหาการ์ดในช่วงต้นเกมรวมถึง ลูกไดโนเสาร์ดุร้าย ก็เป็นหนึ่งในการ์ดที่ทำให้เราสามารถเล่นกดดันและเล่นเสี่ยงเพื่อช่วงชิงจังหวะช่วงต้นเกมได้เช่นกันถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียว

 

ไวล์สไปน์สเลเยอร์ เป็นอีกตัวเลือกที่หลายคนสงสัยว่าควรเก็บไว้เคลียร์มินเนี่ยนตัวใหญ่ๆดีหรือเปล่าซึ่งเจ้าการ์ดใบนี้ก็เป็นอีกหนึ่งใบที่สร้างความได้เปรียบให้เราเมื่อต้องเจอกับเด็คที่มีมินเนี่ยนตัวใหญ่ๆเช่นEven Lock เป็นต้นถามว่าเก็บได้ไหมสามารถเก็บได้เช่นกันในบาง Match-up

 

วิธีการเล่น

การเล่นเด็คนี้มักจะจบด้วยการหาจังหวะที่ถูกต้องในการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเราเข้าโจมตีฝ่ายตรงข้าม โดยมีการ์ดอย่าง เลือดเย็น ที่ถ้าเลือกใช้ได้อย่างถูกจังหวะแล้วละก็จะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการ์ดอย่าง สายลับ SI:7 และ ฟังกัลแมนเซอร์ คอยช่วยเปลี่ยนจังหวะเกมให้ได้เปรียบมากยิ่งขึ้น

 

แน่นอนว่าส่วนสำคัญคือเราต้องรีบปิดเกมให้เร็วที่สุดเพราะถ้าปล่อยไปถึงช่วงกลาง-ปลายเกมแล้วเด็คนี้จะค่อนข้างเสียเปรียบเด็คอื่นๆ

Tech Card และการ์ดที่สามารถนำมาปรับใช้กับเด็คได้

- วอยด์ริปเปอร์
- บลัดไนท์
- ทาร์ครีปเปอร์
- บลิงค์ฟ็อกซ์
- นกฮูกปากเหล็ก

 

 

Zoo Warlock

# 2x (1) เพลิงสลายวิญญาณ

# 2x (1) บรรณารักษ์โคโบลด์

# 2x (1) ผู้พิทักษ์แห่งแสง

# 2x (1) ผู้สัญจรแห่งมิติมืด

# 2x (1) หมอผีวูดู

# 2x (1) อิมพ์ไฟ

# 1x (2) เจ้าชายเคเลเซธ

# 2x (3) กูลมีความสุข

# 2x (3) ทาร์ครีปเปอร์

# 2x (3) นักเวทมนตร์เห็ด

# 2x (4) ไลฟ์ดริงเกอร์

# 2x (4) นักโทษเหมืองซารอไนต์

# 2x (4) สเปลเบรคเกอร์

# 2x (5) เดรดลอร์ดน่ารังเกียจ

# 2x (5) ฟังกัลแมนเซอร์

# 1x (5) ลีรอย เจ็นกิ้นส์

 

List : AAECAfqUAwKvBJziAg4whAHyBc4Hwgj3DMrDApvLAvfNAp/OAvLQAtHhAofoAu/xAgA=

 

การกลับมาอีกครั้งของ Zoo Lock ในเมต้า Boomsday กลับมาครั้งนี้มาพร้อมความแข็งแกร่งมากๆ

 

วิธีการเก็บการ์ดต้นเกม

 

แน่นอนการมี เจ้าชายเคเลเซธ บนมือในการเก็บการ์ดเริ่มต้น เป็นอะไรที่ใครๆ ก็คงอยากได้แต่ถ้าไม่มีละมีการ์ดใบไหนบ้างที่เราควรเก็บไว้ เช่นเดียวกับ Odd Rogue เราควรจะมองหามินเนี่ยนที่มีค่าร่ายต่ำเพื่อเล่นในช่วงต้นเกมโดยเฉพาะ Zoo ที่ไม่ค่อยมีการ์ดเวทมนตร์หรือการ์ดคอมโบมาให้ใช้พลิกเกมแบบ Rogue แต่จะเน้นไปที่การใช้มินเนี่ยน Tempo บอร์ดและเทรดเพื่อเอาชนะบอร์ดในช่วง ต้นไปจนถึงกลางเกมด้วยมินเนี่ยนที่เรียกดาเมจได้ค่อนข้างสูง ตัวเลือกหลักๆ ก็จะมี อิมพ์ไฟ บรรณารักษ์โคโบลต์ ผู้สัญจรแห่งมิติมืด รวมถึง ผสานวิญญาณ ก็เป็นการ์ดอีกหนึ่งใบทีบ้างครั้งก็ควรเก็บไว้ถ้ามีมินเนี่ยนให้เล่น

 

วิธีการเล่น

 

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นการ Tempo มินเนี่ยนเพื่อครองบอร์ดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ Zoo แต่ในขณะเดียวกันการรู้จักคู่ต่อสู้และ Play around การ์ดเคลียร์บอร์ดของแต่ละเด็คได้นั้นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้เล่นเด็คนี้เก่งขึ้น หรือแม้แต่การเก็บการ์ดอย่าง เพลิงสลายวิญญาณ เพื่อเล่นกับเด็ค Tempo อื่นๆ อย่าง Odd Rogue ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในบางสถานการณ์ โดยปกติ Zoo จะต้องพยายามปิดเกมให้ได้ภายในเทิร์น 7 – 8 เพราะหลังจากนั้นการครองบอร์ดของ Zoo จะอ่อนประสิทธิภาพลงและแพ้ในท้ายเกมในที่สุด

Tech Card และการ์ดที่สามารถนำมาปรับใช่กับเด็คได้
- วอยด์ริปเปอร์
- บลัดไนท์
- ทาร์ครีปเปอร์
- ดูมการ์ด
- ลีรอย เจ็นกิ้นส์
- ลูกไดโนเสาร์ดุร้าย
- สเปลเบรกเกอร์
- โซลลาเรียม

 

Malygos Druid

 

# 2x (0) เพลิงจันทรา

# 2x (1) กลับสู่ธรรมชาติ

# 2x (1) ศิลาเวทแจสเปอร์ระดับล่าง

# 2x (2) ผืนป่างอกงาม

# 2x (3) หอนกรรโชก

# 1x (4) กิ่งไม้แห่งพิภพ

# 2x (4) ตะปบ

# 2x (4) ทางแยก

# 1x (4) ฟลอบบิดินัส ฟลู๊ป

# 2x (5) จอมมนตราทรราช

# 2x (5) นักประดิษฐ์คิกคัก

# 2x (5) หล่อเลี้ยง

# 2x (6) โรคร้ายระบาด

# 1x (7) มัลฟิวเรียน ผู้ผลาญชีวิต

# 1x (8) ลิชคิง

# 1x (9) มาลิกอส

# 1x (9) อเล็กสตราสซา

# 2x (10) บ่อนทำลายขั้นสุดยอด

 

List : AAECAbSKAwa0A8UEws4CmdMCm+gC9fwCDEBf6QHTA+QIoM0Ch84CmNICntIC29MCv/IC4vgCAA==

 

 มาทำความรู้จักกับเด็คที่เหมาะกับผู้เล่นที่ชอบเล่น Combo+Controlกันบ้างซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากทีเดียวกับเด็ค Malygos Druid ซึ่งได้มินเนี่ยนระดับตำนานตัวใหม่อย่าง ฟลอบบิดิน์ส ปลู๊ป มาเสริมทำให้สามารถเล่นคอมโบใหม่ ตะปบ + *2 เพลิงจันทรา เรียกดาเมจได้ 21 ดาเมจภายในหนึ่งเทริน์.

วิธีการเก็บการ์ดต้นเกม 

อย่างแรกเลยเราต้องรู้จักเมต้าและคาดเดาเด็คของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นเด็คที่เร็วหรือช้า

VS เด็คเร็ว

แน่นอนว่าการ์ดใบแรกที่เรามองหาคงหนีไม่พ้น ผืนป่างอกงาม รวมถึง ศิลาเวทแจสเปอร์ระดับล่าง ที่จะมาช่วยเราเคลียร์มินเนี่ยนในช่วงต้นเกมได้ รวมถึงการ์ดอย่าง ทางแยก นักประดิษฐ์คึกคัก และ โรคร้ายระบาด ก็มีความสำคัญอย่างมากในการเจอกับเด็คเร็ว

 

VS เด็คช้า

ผืนป่างอกงาม และ หล่อเลี้ยง คงเป็นตัวเลือกแรกๆ เพื่อเพิ่มมานาของเราให้เร็วที่สุดรวมถึงการ์ดคอมโบอย่าง กิ่งไม้แห่งพิภพ เช่นกันถึงแม้เราอาจจะไม่ได้ใช้มันในช่วงต้นเกมก็ตาม

 

วิธีการเล่น

 

แน่นอนว่าการ Ramp มานาในช่วงต้นเกมเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดเสมอสำหรับ Druid แต่สำหรับ Malygos Druid การอ่านเกมและใช้ทรัพยากรและความสามารถของการ์ดให้คุ้มค่าที่สุดถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับสู่ชัยชนะโดยเฉพาะเมื่อเจอกับเด็ค Aggro ที่เราจะต้องตั้งรับตลอดทั้งเกมแล้วปิดเกมในช่วงท้าย

ในขณะที่การเจอกับเด็ค Control เราต้องพยายามเก็บการ์ดเวทมนตร์ไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อทำดาเมจให้พอในช่วงท้ายเกม, รวมถึงการใช้การ์ดอย่าง กลับสู่ธรรมชาติ ให้มีประโยชน์สูงสุดไม่ใช่แค่เพียงทำลายมินเนี่ยนเท่านั้นเรายังสามารถทำให้ฝ่ายตรงข้าม Overdraw และเสียการ์ดใบสำคัญไปก็ได้เช่นกัน รวมถึงการคำนวณดาเมจของแต่ละคอมโบ โดยมีการ์ดหลักๆ ดังนี้การ์ดเพื่อใช้ทำคอมโบ อเล็กสตราซา มาลิกอส  กิ่งไม้แห่งพิภพ ฟลอบบิดินัส ฟลู๊ป การ์ดเพื่อใช้ทำดาเมจ เพลิงจันทรา ตะปบ